WAT UPSORNLAWAN WORAWIHARN
THE THIRD CLASSED ROYAL MONASTERY WAS AN ANCIENT TEMPLE FORMERLY CALLED WAT MU, MU MEANING PIG, AS IT WAS BUILT ON THE LAND OF PIG FARM AND THE PIGS WERE ALLOWED TO STROLL IN THE COMPOUND, AND WAS TOLD THAT THE TEMPLE WAS BUILT BY CHINESE NAMED CHIN-U. DURING THE REIGN OF KING RAMA III ,CHAOCHOM NOI (SURANAKONG) HAS RESTORED THE TEMPLE. LATER KING RAMA III ORDERED THE TEMPLE RENOVATED ONCE AGAIN AND BESTOWLED THE NAME WAT UPSORNSAWAN TO THE TEMPLE. UBOSOT (ORDINATION HALL) AND WIHARN (SERMON HALL) WERE BUILT IN CHINESE STYLE. ENSHRINED INSIDE UBOSOT ARE 28 IN SIMILAR SHAPE AND SIZE BUDDHA IMAGES IN SUBDUING MAHA (DEMON) POSTURE CREATED BY ORDER OF KING RAMA III
สถานที่ตั้ง
วัดอัปสรสวรรค์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ตำบลปากคลอง อำเภอภาษีเจริญ ทางคณะสงฆ์ขึ้นอยู่ในแขวงจังหวัดนั้น
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับที่ของวัดปากน้ำ
ทิศใต้ มีคลองเป็นเขต
ทิศตะวันออก ติดกับคลองด่าน
ทิศตะวันตก ติดกับสวนหลวงมีคูวัดเป็นเขต
ประวัติวัดอัปสรสวรรค์
วัดอัปสรสวรรค์ชาวบ้านเรียกว่า วัดหมู เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร คำบอกเล่าเกี่ยวกับชื่อ วัดหมู มีว่า เศรษฐีจีนคนหนึ่งชื่อ อู๋ แซ่ใดไม่ปรากฏ เป็นผู้ยกแปลงเลี้ยงหมูสร้างวัดนี้ ชาวบ้านจึงเรียก วัดอู๋ บ้าง แล้วเพี้ยนไปติดปากชาวบ้านว่า วัดหมูจนทุกวันนี้ เมื่อสุนทรภู่เดินทางไปเมืองเพชรบุรี เมื่อผ่านหน้า วัดหมู จึงเขียนกลอนไว้ใน นิราศเมืองเพชร ว่า ถึงบางหลวงล่วงล่องเข้าคลองเล็ก ล้วนบ้านเจ็กขายหมู ดูอักโขมีเมียขาวสวยมันรวยโป หัวอกโอ้อายใจมิใช่เล็ก
เอกสารต้นรัตนโกสินทร์ ระบุว่า ละแวกสวนดังกล่าว มีคนจีนเข้ามาเลี้ยงหมูและทำสวนปลูกผัก หมากพลูเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงน่าจะเป็นร่องรอยว่า วัดหมู มีความสัมพันธุ์กับชาวจีนในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ที่เลี้ยงหมูและขายเนื้อหมู เมื่อ 50 ปีก่อนยังมีชาวบ้านเห็นว่าวัดตอนนั้นมีหมู ที่ชาวบ้านเอามาปล่อยและแพร่พันธุ์ต่อ ๆ กันจำนวนมาก สมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเจ้าจอมองค์หนึ่งนามว่า เจ้าจอมน้อย เป็นธิดาของพระยาพลเทพ เห็น วัดหมู ทรุดโทรมลงมากใคร่จะปฏิสังขรณ์ เพื่ออุทิศส่วนกุศล แด่ท่านเจ้าคุณบิดา จึงกราบบังคมทูลพระกรุณาต่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อปฏิสังขรณ์วัด พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ให้สถาปนาวัดใหม่นี้ทั้งหมด และพระราชทานนามวัดนี้ว่า วัดอัปสรสวรรค์ เพื่อเป็นที่ระลึกแด่ เจ้าจอมน้อย ซึ่งมีความสามารถในการแสดงละครอิเหนา เป็นตัวสุหรานากงได้ดี จนมีฉายาเรียกกันว่า เจ้าจอมน้อยสุหรานากง
โบราณสถานและโบราณวัตถุ
1. พระประธาน 28 องค์ในพระอุโบสถ เป็นพระหล่อปางมารวิชัย เหมือนกันหมด มีขนาดท่ากัน หน้าตักกว้าง 1 ศอก สูงตลอด ยาวพระรัศมี 1 ศอก 4 นื้ว พระพุทธรูปเหล่านั้นประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีเดียวกัน ชุกชีนั้นสูงเป็นจอมขึ้นไปมีสัณฐานเป็นรูป 4 เหลี่ยมรีขึ้นไป ระหว่างด้านตะวันออกกับด้านตะวันตก ทางเหนือซึ่งเป็นด้านหลังพระอุโบสถเป็นด้านตัดไม่มีพระพุทธรูปประดิษฐาน ส่วนทางด้านใต้ซึ่งเป็นด้านหน้า เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 18 องค์ และลดหลั่นลงมาเป็นชั้นๆ รวมทั้งที่ล้ำออกมาเป็นรูป 3 เหลี่ยมในชั้นต่ำสุด 3 องค์ด้วย ส่วนทางด้านตะวันออกและตก ก็ลดเป็นหลั่นเช่นเดียวกันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปด้านละ 5 องค์ อนึ่งพระพุทธรูปเหล่านี้ได้มีพระนามจารึกไว้ที่หน้าฐานทั้งนั้น องค์ที่ประดิษฐานอยู่ยอดจอม มีพระนามจารึกว่า พระพุทธตัณหังกร องค์นอกนั้นคือ พระพุทธเมธังกร พระพุทธสรณังกร พระพุทธทีปังกร พระพุทธโกณฑัญญะ พระพุทธพระมงคล พระพุทธสุมัน พระพุทธเรวัต พระพุทธโสภิต พระพุทธอโนมทัสสี พระพุทธ-ปทุม พระพุทธนารถ พระพุทธปทุมมุตตร พระพุทธสุเมธ พระพุทธสุชาต พระพุทธปิยทัสสี พระพุทธอัตถทัสสี พระพุทธธัมมทัสสี พระพุทธสิทธัตถะ พระพุทธติสสะ พระพุทธปุสละ พระพุทธวิปัสสี พระพุทธสีขี พระพุทธเวสภู พระพุทธกกุสนธ พระพุทธโกนาคมน พระพุทธกัสสป พระพุทธโคดม และพระพุทธโคดมนี้ประดิษฐานหน้าที่สุดในชั้นล่าง
2. พระปรางค์อีก 6 องค์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ ตั้งเรียงเป็นหลั่นบนชุกชีชั้นล่าง ทางด้านหน้าพระอุโบสถอยู่ทางซ้ายแห่งพระพุทธโคดม 3 องค์ ทางขวาก็ 3 องค์เช่นเดียวกัน พระปรางค์เล็กนั้นแกะสลักด้วยไม้ ยอดหล่อด้วยโลหะธาตุ ลงรักปิดทอง ประดับกระจก วัดตามฐานโดยรอบโต 2 ศอก สูง 1 ศอกคืบ 2 องค์ อีก 4 องค์ ฐานโต 1 ศอกคืบ สูง 1 ศอกเท่ากัน
3. พระพุทธรูป 2 องค์ ในพระวิหารไม่ปรากฏพระนามเป็น พระหล่อปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง 3 ศอก สูงยาวตลอด พระรัศมี 3 ศอกคืบองค์หนึ่ง ส่วนอีกองค์หนึ่งนั้นเป็นพระปั้น ปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง 4 ศอกคืบ สูงตลอดยาว พระรัศมี 5 ศอก
4. ในมณฑปมีพระพุทธรูปหล่อพระปางฉันสมอ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานมา ประดิษฐานไว้ 1 องค์ หน้าตักกว้าง 15 นิ้วฟุต สูง 20 นิ้วฟุต
5. ตอนหน้าระหว่างพระอุโบสถกับพระวิหาร มีพระปรางก่อ อิฐถือปูน 1 องค์ วัดตามฐานโดยรอบโต 21 วา สูง 15 วา
6. พระอุโบสถกับพระวิหารคือ ซึ่งเป็นของก่ออิฐถือปูนตั้งเป็นคู่ขนานกัน พระอุโบสถอยู่ทางทิศตะวันออก พระวิหารอยู่ทางทิศตะวันตก มีกำแพงแก้วล้อมรอบ กำแพงแก้วสูงประมาณ 3 ศอก
7. มณฑป ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระปางฉันเสมอ ตั้งอยู่ในกำแพงแก้วระหว่างพระอุโบสถกับพระวิหาร วัดตามฐานโดยรอบโต 12 วา 3 ศอก สูงประมาณ 6 วา สิ่งเหล่านี้เข้าใจว่าเจ้าจอมน้อย ได้สร้างขึ้นในคราวที่ทำการ สถาปนาทั่วทั้งพระอารามเป็นการใหญ่นั่นเอง
8. ศาลาการเปรียญ ฝากระดานหลังคามุงกระเบื้องไทย กับหอพระไตรปิฏกซึ่งมีสระน้ำหล่อฝาเป็นตัวไม้ และสลักประดับกระจกสี หลังคามุงกระเบื้องเคลือบสี รวม 2 อย่างนี้ พระวชิระกวี (รอด) ได้จัดการสร้างขึ้นในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสครองวัดอยู่
9. กุฏิฝากระดานอย่างเรือนโบราณ ดูเหมือนจะเป็นของเก่า ซึ่งได้สร้างขึ้นใน สมัยเจ้าจอมน้อย เหมือนกันมีอยู่หลังหนึ่งที่เป็นแบบใหม่ซึ่งได้สร้างขึ้นภายหลัง
10. โรงเรียนพระปริยัติธรรม อย่างแบบใหม่ชนิดคอนกรีต 2 ชั้น ภายใต้โรงเรียนทำเป็นการเก็บน้ำฝนสำหรับใช้ในฤดูแล้ง กับศาลาท่าน้ำหน้าพระวิหารหนึ่งหลัง และเขื่อนคอนกรีตตลอดหน้าวัด สิ่งเหล่านี้ นายใย นางสุ่น ทังสุภูติ ได้สร้างขึ้นในสมัยพระพุทธพยากรณ์ (อุปติสโส เจริญ) เป็นเจ้าอาวาสอยู่วัดนี้
11. ศาลาน้ำทำด้วยไม้หนึ่งหลัง ตั้งอยู่ตรงหน้าพระอุโบสถ เป็นของเก่าซึ่งเจ้าจอมเพิ่ม (รัชกาลที่ 5) ได้ปฏิสังขรณ์ให้ดีขึ้น
12. ศาลาโถงหล่อคอนกรีต เครื่องบนเป็นตัวไม้ กว้าง 3 วา 1 ศอก ยาว 5 วา 3 ศอกคืบ ตั้งอยู่ระหว่าง พระอุโบสถกับพระวิหาร ตรงกลางพระปรางค์องใหญ่กับมณฑป พระพุทธพยากรณ์ (อุปติส โส เจริญ) เจ้าอาวาสได้จัดการสร้างขึ้นใหม่
13. นอกจากถาวรวัตถุที่ได้กล่าวมาแล้ว ก็มีสิ่งของที่ได้รับพระราชทานไว้สำหรับวัด คือ
13.1 พระบรมรูปหล่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องยศจอมพลทหารบก
13.2 พระไตรปิฎก ฉบับพิมพ์ในรัชการที่ 5 มีตู้บรรจุพร้อม
13.3 ธรรมาสน์ลายทอง ในคราวงานพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ
ความเจริญและความเสื่อม
ตามรูปเหตุการณ์ของวัดนี้ สันนิษฐานได้โดยเด่นชัดว่า ในยุคที่เจ้าจอมน้อยที่ทำการสถาปนาแล้วเสร็จใหม่ ๆ คงจะมีความเจริญมาก เพราะเหตุที่เสนาสนะ ตลอดจนพระอุโบสถและพระวิหารยังบริบูรณ์พร้อมมูลอยู่ ทั้งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้ทรงส่งเสริมเพิ่มเติมอยู่ กับอีกประการหนึ่งนั้น ฐานที่ตั้งของวัด อยู่ในทำเลอันเหมาะ เป็นบริเวณที่คนไทย ซึ่งเป็นพุทธศาสนิกชนอันแท้จริง โดยมากเป็นชาวสวนซึ่งมีหลักการ อาชีพอันมั่นคง ด้วยต่อมาเสนาสนะเหล่านั้น เป็นของนานปีเข้า ก็ชำรุดทรุดโทรมลงทั้งขาดการบูรณปฏิสังขรณ์ ย่อมเป็นธรรมดา ตามสภาพของเหตุการณ์ซึ่งจะต้องเสื่อมทรามลง แต่อย่างไรก็ดี เมื่อมาถึงพระพุทธพยากรณ์ (อุปติส โส เจริญ) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสครองวัดอยู่ในเวลานั้น ทางวัดกลับได้รับการปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุที่สำคัญ ๆ ขึ้นหลายอย่าง เช่น พระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาท่าน้ำ ศาลาโถง และเขื่อนถาวรตลอดหน้าวัด เป็นต้น ดังที่แจ้งอยู่ในเรื่องที่ว่าด้วยถาวรวัตถุนั้นแล้ว ในยุคนี้จึงนับได้ว่า เจริญขึ้นโดยลำดับ
การศึกษา
ในสมัยก่อน การศึกษาและขนบธรรมเนียมของวัดได้ศึกษาและทำกันตามประเพณีซึ่งมีในสมัยนั้น แต่ในสมัยต่อมาการศึกษาภาษาบาลีและการศึกษาธรรมวินัยของพระภิกษุ สามเณร ตลอดจนการศึกษาของศิษย์วัด นับได้ว่าเจริญขึ้นมาก คือ ในชั้นสูง ๆ ได้จัดส่งไปศึกษาสำนักพระเชตุพน ส่วนชั้นต่ำลงมา ได้จัดสอนกันเองในโรงเรียนที่มีอยู่ในวัด จนได้มีภิกษุ ทรงภูมิเปรียญ และนักธรรมหลายรูป ส่วนขนบธรรมเนียมของวัด คือ การทำอุโบสถสังฆกรรม ก็ได้ทำทุกปักษ์ วิสาขบูชา มาฆบูชา ได้ทำกันตามอภิรักษ์ขิตสมัยนิยม และทำเสวนาการก็ได้มีทุกวัน ทุกอุโบสถ มิได้ขาดขนบธรรมเนียมประเพณีวัด
มัคนายกและไวยาวัจกร
มัคนายกสำหรับวัดนี้ ยังมิได้ขอให้ตั้งใครขึ้น มีแต่ไวยาวัจกร คือ ขุนคุ้มสาตราภัย (แช่ม สาตราภัย) ปัจจุบันนายเสถียร พงษารักษ์ เปรียญเป็นผู้ทำกิจการของสงฆ์ในพระอารามนี้
รายนามเจ้าอาวาสตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน
เจ้าอาวาสผู้ปกครองวัดนี้ นับตั้งแต่รัชกาลที่ 3 ตลอดจนมาถึงรัชกาลปัจจุบันนี้ เท่าที่ปรากฏนับเรียงลำดับ ดังนี้
1. พระวชิระกวี (รอด) ชาติภูมิไม่ปรากฏ เดิมอยู่วัดสุวรรณาราม คลองบางกอกน้อย ภายหลังย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดนี้ เมื่อใน ร.3 และได้มรณภาพในรัชกาลนั้นเอง
2. พระครูพุทธพยากรณ์ (อ่อนหรือกล่ำ) ชาติภูมิไม่ปรากฏ เดิมอยู่วัดขุนจันทรามาตย์ แล้วย้ายมาเป็นศิษย์อยู่ในสำนัก พระวชิระกวี (รอด) ได้เป็นพระปลัดเข้าใจว่าเป็นฐานะของ พระวชิระกวี ภายหลังได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์เป็นพระครูพุทธพยากรณ์ เจ้าอาวาสปกครองวัดอยู่จนอายุได้ 97 ปี จึงมรณะภาพ
3. พระครูพุทธพยากรณ์ (มั่น) เจ้าอาวาสวัดอัปสรสวรรค์ เป็นบุตรนายพุ่ม ชาวเมืองปราจีนบุรี ได้มาเข้าศึกษาพระปริยัติธรรม ต่อมาพระวชิระกวี เจ้าอาวาสวัดอัปสรสวรรค์ ตั้งแต่อายุได้ 12 ปี ครั้นอายุที่จะอุปสมบทจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่วัดนั้นภายหลังพระวชิระกวีถึงแก่มรณภาพ พระหลัด (อ่อน) ได้เป็นพระครูพยากรณ์เจ้าอาวาส จึงได้เป็นพระสมุห์ อยู่วัดนั้น ต่อมาพระครูพยากรณ์ (อ่อน) ถึงแก่มรณภาพจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พระครูพุทธพยากรณ์ได้รับตาลปัตรพุดตาลพื้นเหลืองเป็นเครื่องยศ ณ วัน 7 เดือน 12 ขึ้น 14 ค่ำ อาพาธฉันอาหารไม่ค่อยได้ นอนไม่ค่อยหลับ หาหมอพอนเชลยศักดิ์รักษา ว่าเป็นวัณโรคคันทสูตร ประกอบยาให้ฉัน อาการหาคลายไม่ ฉันอาหารน้อยลงทุกเวลา ณ วัน 5 เดือน 3 ขึ้น 14 ค่ำ อาการทรุดหนักลง ให้นายเปลี่ยน หมอเชลยศักดิ์ รักษาอาการ หาคลายไม่ ณ วัน 2 เดือน 4 แรม 2 ค่ำ เวลายามเศษ หอบเป็นกำลัง เวลา 3 ยาม พระครูพุทธพยากรณ์ (มั่น) ถึงแก่มรณภาพอายุได้ 74 ปี พระราชทานน้ำชำระศพ หีบสลักลายมังกรเป็นเกียรติยศ
4. พระครูพุทธพยากรณ์ (กวย) ชาติภูมิอยู่ตำบลคุ้งเผาถ่าน อำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี เดิมเป็นพระสมุห์ ฐานะของพระครูพุทธพยากรณ์ (มั่น) ภายหลังได้รับ พระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูเจ้าอาวาส
5. พระครูพุทธพยากรณ์ (อุปติส โส เจริญ) ชาติภูมิอยู่ตำบลบางมด อำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี เดิมเป็นพระสมุห์ ฐานานุรูปของ พระครูพุทธพยากรณ์ (กวย) ต่อมาได้รับพระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์เป็นพระครูพุทธพยากรณ์ ตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดอัปสรสวรรค์ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2449 และได้ปกครองวัดตลอดมาจนมรณภาพ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2494
6. พระธีรสารมุนี (ธีรสาโร สุไชย) เปรียญ 3 ประโยค น.ธ.โท เกิดปี พ.ศ. 2461 ชาติภูมิอยู่ตำบลปากคลอง อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี อุปสมบทที่พระอารามนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2482 ต่อมา ได้รับสัญญาบัตรสมณศักดิ์ เป็นพระครูสุไชยธรรมพินิต เมื่อปี พ.ศ. 2493 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสและเจ้าคณะตำบลคลองภาษีเจริญ เมื่อปี พ.ศ. 2495 เป็นพระอุปัชฌายะ เมื่อปี พ.ศ. 2497 และได้รับสัญญาบัตรเลื่อนสมณะเป็น พระราชาคณะที่พระธีรสารมุนี เมื่อปี พ.ศ. 2502 ได้ปกครองพระอารามมาจนถึง พ.ศ. 2540
7. พระวิสุทธิมงคล (ทองเติม อุตตมญาโณม ,ปรีดาสามารถ) นักธรรมเอก (น.ธ.เอก) เปรียญธรรม 4 ประโยค เกิดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2463 ชาติภูมิอยู่บ้านวังดาล ตำบลวังดาล อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี บรรพชาเมื่อปี พ.ศ. 2479 ที่วัดสามัคคีสโมสร (บ้านวังดาล) อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2484 ที่วัดประยูรวงศาวาสวรวิหาร แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยมีพระธรรมปหังษณาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระครูชั้นเอกที่พระครูประสิทธิวรญาณ เมื่อ พ.ศ. 2501 ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดอุดมรังสี เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร ,พ.ศ. 2503 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ,พ.ศ. 2527 ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็น เจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร แขวงปากคลอง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร และเมื่อ พ.ศ. 2540 ได้รับแต่งตั้งสมณะศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญที่พระวิสุทธิมงคล และได้ปกครองวัดอัปสรสวรรค์มา ตราบจนปัจจุบันนี้
พระประธาน ๒๘ พระองค์
พระประธาน ๒๘ พระองค์ ในพระอุโบสถเป็นพระหล่อปางมารวิชัยเหมือนกันหมด มีขนาดเท่ากัน หน้าตักกว้าง ๑ ศอก สูงตลอดยอดพระรัศมี ๑ ศอก ๔ นิ้ว พระพุทธรูปเหล่านี้ประดิษฐานอยู่บนชุกชี (แท่นพระ) เดียวกัน ชุกชีนั้นสูงเป็นจอมขึ้นไป มีสัณฐานเป็นรูปสี่เหลียมรี ระหว่างด้านเหนือกับด้านใต้ ทางด้านตะวันตกซึ่งเป็นด้านหลังพระอุโบสถ เป็นด้านตัดไม่มีพระพุทธรูปประดิษฐาน ส่วนทางด้านตะวันออกซึ่งเป็นด้านหน้า เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ๑๘ พระองค์ และลดหลั่นลงมาตามลำดับ รวมทั้งที่ล้ำออกมาเป็นรูปสามเหลี่ยมในชั้นต่ำที่สุด ๓ พระองค์ ส่วนด้านเหนือและด้านใต้ ก็ลดหลั่นลงมาตามลำดับเช่นเดียวกัน เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปด้านละ ๕ พระองค์
อนึ่งพระพุทธรูปเหล่านี้ ได้มีพระนามจารึกไว้ที่หน้าฐานทั้งนั้น องค์ที่ประดิษฐานอยู่บนยอดจอม มีพระนามจารึกว่า พระตัณหังกร องค์นอกนั้น มีพระนามว่า พระเมธังกร พระสรณังกร พระทีปังกร พระโกณฑัญญะ พระมังคละ พระสุมนะ พระเรวตะ พระโสภิตะ พระอโนมทัสสี พระปทุมะ พระนารทะ พระปทุมุตตระ พระสุเมธะ พระสุชาตะ พระปิยทัสสี พระอัตถทัสสี พระธรรมทัสสี พระสิทธัตถะ พระติสสะ พระปุสสะ พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคดม และ พระโคดม นี้ประดิษฐานอยู่ล้ำหน้าที่สุดในชั้นล่างพระประธานที่อยู่ในพระอุโบสถนี้ รัชกาลที่ ๓ เป็นผู้ทรงสร้าง และเป็นพระประธานที่มีแห่งเดียวในโลก
หลวงพ่อฉันสมอ
เกี่ยวกับพระพุทธรูปปางฉันสมอองค์นี้ เล่ากันว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ทรงได้มาจากเวียงจันทร์ พร้อมกับพระบางและพระแซกคำ พระบางนั้นโปรดให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ วัดจักรวรรดิราชาวาส ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) จึงโปรดให้อัญเชิญพระบางคืนไปไว้ยังเมืองหลวงพระบาง เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๐๘
ส่วนพระแซกคำ พระราชทานแก่พระยาราชมนตรี (ภู่ ภมรมนตรี) ไปประดิษฐานเป็นพระประธาน ณ วัดคฤหบดี ตราบจนปัจจุบัน
พระพุทธรูปปางฉันสมอ หรือที่เรียกกันว่า “ หลวงพ่อสมอ ” นั้นเป็นพระพุทธรูปมีลักษณะแบบจีน เป็นพระพุทธรูปที่งดงามเป็นสง่า เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวนครหลวงพระบางและเวียงจันทร์ หน้าตักกว้างประมาณศอกเศษ ทรงนั่ง พระหัตถ์ซ้ายถือผลสมอ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่มาแต่เมืองเวียงจันทร์ ตามหมายรับสั่ง ร.๓ จ.ศ. ๑๑๘๙ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๗๐ ปรากฏว่าเมื่อปราบกบฏเจ้าอนุแล้ว ได้อัญเชิญ พระพุทธรูปสำคัญต่าง ๆ มาจากเวียงจันทร์หลายองค์ ซึ่งมีพระพุทธรูปปางฉันสมอ รวมอยู่ในจำนวนนั้นด้วย เมื่อถึงกรุงเทพฯ แล้ว ได้ทำการฉลองสมโภชเป็นมหกรรมใหญ่ และได้อัญเชิญสถิตประดิษฐานไว้ในพระวิหารพระนาก ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หลังจากบูรณปฏิสังขรณ์วัดอัปสรสวรรค์แล้ว จึงพระราชทานหลวงพ่อฉันสมอมาประดิษฐานที่วัดนี้ ตั้งแต่บัดนั้นกระทั่งถึงปัจจุบัน
ความหมาย
พระพุทธรูปปางฉันสมอนี้ เป็นปางหนึ่งเกียวกับพุทธอิริยาบถ มีเรื่องเล่าว่า หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากร่มไม้จิก (มุจจลินท์) ซึ่งบังเกิดฝนตกใหญ่ และที่พญามุจลินท์นาคราชแผ่พังพานปกป้องแล้วนั้น พระองค์เสด็จมาประทับสวยวิมตติสุขอยู่ใต้ร่มไม้เกต (ราชายตนพฤกษ์) อันอยู่ในทิทักษิณแห่งพระมหาโพธิ์ เป็นเวลาอีก ๗ วัน นับเวลาตั้งแต่วันตรัสรู้จนถึงกาลนี้ รวมได้ ๔๓ วัน ในเวลาเช้าแห่งวาระนั้น ท้าวสักกะ (พระอินทร์) ได้ถวายไม้สีพระทนต์ (ไม้สีฟัน) และผลสมอ เมื่อวันขี้น ๖ ค่ำ เดือนอาสาฬหะ พระองค์ได้ทรงใช้ไม้สีพระทนต์ และทรงเสวยผลสมอ แล้วประทับอยู่ใต้ร่มไม้เกตแห่งนั้น
อภินิหาร
เมื่อได้กล่าวถึงความเป็นมาของหลวงพ่อฉันสมอแล้ว ก็ขอแทรกถึงอภินิหารของท่านบ้างพอสมควร เพราะความจริงหลวงพ่อท่านก็ไม่ค่อยได้ปรากฏองค์ ในที่สาธารณะบ่อยนัก เรื่องนี้มีมูลเหตุ ผู้ใหญ่ท่านเล่าต่อๆ กันมาว่า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ พระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ทรงมีความโปรดปรานในเรื่องพระพุทธรูปมากเป็นพิเศษ ทรงเสาะแสวงหาพระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีความงามไปเก็บไว้เมืองหลวง และภายในพระบรมมหาราชวัง ดังที่ได้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์สำคัญฯ มาจากทางเมืองเหนือมาเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก หลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน จังหวัดอุตรดิตถ์
ครั้งหนึ่ง พระเจ้าหลวงทรงเสด็จมาประพาสที่วัดอัปสรสวรรค์นี้ พระองค์ทรงได้สนทนาธรรมกับพระครูพุทธพยากรณ์ เจ้าอาวาสในขณะนั้น และพระองค์ได้ไปพบ พระพุทธรูปฉันสมอนี้มีความงาม หาองค์ใดเสมอเหมือน จึงได้ทูลขอกับเจ้าอาวาส ว่าต้องการนำเข้าไปประดิษฐานในพระบรมมหาราชวัง เพื่อสำหรับสักการะบูชา ฝ่ายพระครูพุทธพยากรณ์ได้ฟังพระกระแสรับสั่ง ไม่กล้าขัดพระกระแสรับสั่ง แต่ก็มีความเสียดาย จึงจำเป็นต้องรับปากถวายพระราชทานไป เมื่อกลับไปถึงพระบรมมาหาราชวังพระองค์ทรงให้โหรหลวงหาฤกษ์มงคลที่จะอาราธนาพระพุทธรูปฉันสมอมาไว้ในพระบรมมหาราชวัง โหรก็จัดแจงหาเลขผานาที ได้กำหนดเวลาแน่นอนก่อนถึงกำหนดไปรับหลวงพ่อฉันสมอ เกิดเหตุอัศจรรย์ ฝนตกลงมาอย่างไม่ลืมหูลืมตา ทั้งที่ในระยะนั้นไม่ใช่ฤดูฝนแต่อย่างใด กล่าวกันว่าทั้งพระสงฆ์ และชาวบ้านต่างมีความเสียดายพากันไปกราบไหว้องค์หลวงพ่อให้ประดิษฐานอยู่ยังวัดนี้ต่อไป เพื่อเป็นมิ่งขวัญแก่ชาวบ้านในถิ่นนั้น ฝ่ายขบวนรับเสด็จที่จะเดินทางไปอาราธนาองค์หลวงพ่อฉันสมอไม่สามารถออกเดินทางมายังวัดอัปสรสวรรค์ได้ ด้วยฝนตกมารุนแรงอย่างผิดปกติ และไม่มีท่าทีว่าจะหยุดเมื่อไร ฝนได้ตกลงมาอย่างนั้นอยู่ตลอด ๓ วัน ๓ คืน จึงสงบ ซึ่งเป็นเวลาที่ผ่านพ้นฤกษ์ยามที่โหรหลวงได้กำหนดให้ พระเจ้าหลวงทรงทราบ จึงตรัสว่า “ เมื่อไม่ยอมไปพระบรมมหาราชวัง จะอยู่ที่นี่ก็ตามใจ ” และตรัสกำชับเจ้าอาวาสให้เก็บรักษาให้ดี ถ้าเป็นอะไรไปจะปรับผิดกับเจ้าอาวาส หลวงพ่อก็เลยเก็บรักษาองค์พระตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ ทางวัดและสาธุชนทั้งหลายปรารภกันว่า “ หลวงพ่อฉันสมอ ” เป็นพระพุทธรูปที่ได้พระราชทานคู่มากับวัดอัปสรสวรรค์ สมควรจะได้อัญเชิญมาให้ประชาชนได้สักการะบูชาบ้าง จึงร่วมกันนำลงมาสรงน้ำเนื่องในวันสงกรานต์ วันที่ ๑๓ เมษายน ทุก ๆ ปีมา บางปีก็ได้อัญเชิญเข้าขบวนแห่ออกนอกวัดไปตามเส้นทางบางสะแก ตลาดพลู และประตูน้ำภาษีเจริญ ซึ่งมีประชาชนทั้งไทยและจีนจำนวนมาก คอยสักการะและสรงน้ำ ด้วยความเคารพเสื่อมใสศรัทธาตลอดระยะทางที่ผ่านไป
2. พระปรางค์อีก 6 องค์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ ตั้งเรียงเป็นหลั่นบนชุกชีชั้นล่าง ทางด้านหน้าพระอุโบสถอยู่ทางซ้ายแห่งพระพุทธโคดม 3 องค์ ทางขวาก็ 3 องค์เช่นเดียวกัน พระปรางค์เล็กนั้นแกะสลักด้วยไม้ ยอดหล่อด้วยโลหะธาตุ ลงรักปิดทอง ประดับกระจก วัดตามฐานโดยรอบโต 2 ศอก สูง 1 ศอกคืบ 2 องค์ อีก 4 องค์ ฐานโต 1 ศอกคืบ สูง 1 ศอกเท่ากัน
3. พระพุทธรูป 2 องค์ ในพระวิหารไม่ปรากฏพระนามเป็น พระหล่อปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง 3 ศอก สูงยาวตลอด พระรัศมี 3 ศอกคืบองค์หนึ่ง ส่วนอีกองค์หนึ่งนั้นเป็นพระปั้น ปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง 4 ศอกคืบ สูงตลอดยาว พระรัศมี 5 ศอก
4. ในมณฑปมีพระพุทธรูปหล่อพระปางฉันสมอ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานมา ประดิษฐานไว้ 1 องค์ หน้าตักกว้าง 15 นิ้วฟุต สูง 20 นิ้วฟุต
5. ตอนหน้าระหว่างพระอุโบสถกับพระวิหาร มีพระปรางก่อ อิฐถือปูน 1 องค์ วัดตามฐานโดยรอบโต 21 วา สูง 15 วา
6. พระอุโบสถกับพระวิหารคือ ซึ่งเป็นของก่ออิฐถือปูนตั้งเป็นคู่ขนานกัน พระอุโบสถอยู่ทางทิศตะวันออก พระวิหารอยู่ทางทิศตะวันตก มีกำแพงแก้วล้อมรอบ กำแพงแก้วสูงประมาณ 3 ศอก
7. มณฑป ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระปางฉันเสมอ ตั้งอยู่ในกำแพงแก้วระหว่างพระอุโบสถกับพระวิหาร วัดตามฐานโดยรอบโต 12 วา 3 ศอก สูงประมาณ 6 วา สิ่งเหล่านี้เข้าใจว่าเจ้าจอมน้อย ได้สร้างขึ้นในคราวที่ทำการ สถาปนาทั่วทั้งพระอารามเป็นการใหญ่นั่นเอง
8. ศาลาการเปรียญ ฝากระดานหลังคามุงกระเบื้องไทย กับหอพระไตรปิฏกซึ่งมีสระน้ำหล่อฝาเป็นตัวไม้ และสลักประดับกระจกสี หลังคามุงกระเบื้องเคลือบสี รวม 2 อย่างนี้ พระวชิระกวี (รอด) ได้จัดการสร้างขึ้นในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสครองวัดอยู่
9. กุฏิฝากระดานอย่างเรือนโบราณ ดูเหมือนจะเป็นของเก่า ซึ่งได้สร้างขึ้นใน สมัยเจ้าจอมน้อย เหมือนกันมีอยู่หลังหนึ่งที่เป็นแบบใหม่ซึ่งได้สร้างขึ้นภายหลัง
10. โรงเรียนพระปริยัติธรรม อย่างแบบใหม่ชนิดคอนกรีต 2 ชั้น ภายใต้โรงเรียนทำเป็นการเก็บน้ำฝนสำหรับใช้ในฤดูแล้ง กับศาลาท่าน้ำหน้าพระวิหารหนึ่งหลัง และเขื่อนคอนกรีตตลอดหน้าวัด สิ่งเหล่านี้ นายใย นางสุ่น ทังสุภูติ ได้สร้างขึ้นในสมัยพระพุทธพยากรณ์ (อุปติสโส เจริญ) เป็นเจ้าอาวาสอยู่วัดนี้
11. ศาลาน้ำทำด้วยไม้หนึ่งหลัง ตั้งอยู่ตรงหน้าพระอุโบสถ เป็นของเก่าซึ่งเจ้าจอมเพิ่ม (รัชกาลที่ 5) ได้ปฏิสังขรณ์ให้ดีขึ้น
12. ศาลาโถงหล่อคอนกรีต เครื่องบนเป็นตัวไม้ กว้าง 3 วา 1 ศอก ยาว 5 วา 3 ศอกคืบ ตั้งอยู่ระหว่าง พระอุโบสถกับพระวิหาร ตรงกลางพระปรางค์องใหญ่กับมณฑป พระพุทธพยากรณ์ (อุปติส โส เจริญ) เจ้าอาวาสได้จัดการสร้างขึ้นใหม่
13. นอกจากถาวรวัตถุที่ได้กล่าวมาแล้ว ก็มีสิ่งของที่ได้รับพระราชทานไว้สำหรับวัด คือ
13.1 พระบรมรูปหล่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องยศจอมพลทหารบก
13.2 พระไตรปิฎก ฉบับพิมพ์ในรัชการที่ 5 มีตู้บรรจุพร้อม
13.3 ธรรมาสน์ลายทอง ในคราวงานพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ
ความเจริญและความเสื่อม
ตามรูปเหตุการณ์ของวัดนี้ สันนิษฐานได้โดยเด่นชัดว่า ในยุคที่เจ้าจอมน้อยที่ทำการสถาปนาแล้วเสร็จใหม่ ๆ คงจะมีความเจริญมาก เพราะเหตุที่เสนาสนะ ตลอดจนพระอุโบสถและพระวิหารยังบริบูรณ์พร้อมมูลอยู่ ทั้งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้ทรงส่งเสริมเพิ่มเติมอยู่ กับอีกประการหนึ่งนั้น ฐานที่ตั้งของวัด อยู่ในทำเลอันเหมาะ เป็นบริเวณที่คนไทย ซึ่งเป็นพุทธศาสนิกชนอันแท้จริง โดยมากเป็นชาวสวนซึ่งมีหลักการ อาชีพอันมั่นคง ด้วยต่อมาเสนาสนะเหล่านั้น เป็นของนานปีเข้า ก็ชำรุดทรุดโทรมลงทั้งขาดการบูรณปฏิสังขรณ์ ย่อมเป็นธรรมดา ตามสภาพของเหตุการณ์ซึ่งจะต้องเสื่อมทรามลง แต่อย่างไรก็ดี เมื่อมาถึงพระพุทธพยากรณ์ (อุปติส โส เจริญ) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสครองวัดอยู่ในเวลานั้น ทางวัดกลับได้รับการปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุที่สำคัญ ๆ ขึ้นหลายอย่าง เช่น พระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาท่าน้ำ ศาลาโถง และเขื่อนถาวรตลอดหน้าวัด เป็นต้น ดังที่แจ้งอยู่ในเรื่องที่ว่าด้วยถาวรวัตถุนั้นแล้ว ในยุคนี้จึงนับได้ว่า เจริญขึ้นโดยลำดับ
การศึกษา
ในสมัยก่อน การศึกษาและขนบธรรมเนียมของวัดได้ศึกษาและทำกันตามประเพณีซึ่งมีในสมัยนั้น แต่ในสมัยต่อมาการศึกษาภาษาบาลีและการศึกษาธรรมวินัยของพระภิกษุ สามเณร ตลอดจนการศึกษาของศิษย์วัด นับได้ว่าเจริญขึ้นมาก คือ ในชั้นสูง ๆ ได้จัดส่งไปศึกษาสำนักพระเชตุพน ส่วนชั้นต่ำลงมา ได้จัดสอนกันเองในโรงเรียนที่มีอยู่ในวัด จนได้มีภิกษุ ทรงภูมิเปรียญ และนักธรรมหลายรูป ส่วนขนบธรรมเนียมของวัด คือ การทำอุโบสถสังฆกรรม ก็ได้ทำทุกปักษ์ วิสาขบูชา มาฆบูชา ได้ทำกันตามอภิรักษ์ขิตสมัยนิยม และทำเสวนาการก็ได้มีทุกวัน ทุกอุโบสถ มิได้ขาดขนบธรรมเนียมประเพณีวัด
มัคนายกและไวยาวัจกร
มัคนายกสำหรับวัดนี้ ยังมิได้ขอให้ตั้งใครขึ้น มีแต่ไวยาวัจกร คือ ขุนคุ้มสาตราภัย (แช่ม สาตราภัย) ปัจจุบันนายเสถียร พงษารักษ์ เปรียญเป็นผู้ทำกิจการของสงฆ์ในพระอารามนี้
รายนามเจ้าอาวาสตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน
เจ้าอาวาสผู้ปกครองวัดนี้ นับตั้งแต่รัชกาลที่ 3 ตลอดจนมาถึงรัชกาลปัจจุบันนี้ เท่าที่ปรากฏนับเรียงลำดับ ดังนี้
1. พระวชิระกวี (รอด) ชาติภูมิไม่ปรากฏ เดิมอยู่วัดสุวรรณาราม คลองบางกอกน้อย ภายหลังย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดนี้ เมื่อใน ร.3 และได้มรณภาพในรัชกาลนั้นเอง
2. พระครูพุทธพยากรณ์ (อ่อนหรือกล่ำ) ชาติภูมิไม่ปรากฏ เดิมอยู่วัดขุนจันทรามาตย์ แล้วย้ายมาเป็นศิษย์อยู่ในสำนัก พระวชิระกวี (รอด) ได้เป็นพระปลัดเข้าใจว่าเป็นฐานะของ พระวชิระกวี ภายหลังได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์เป็นพระครูพุทธพยากรณ์ เจ้าอาวาสปกครองวัดอยู่จนอายุได้ 97 ปี จึงมรณะภาพ
3. พระครูพุทธพยากรณ์ (มั่น) เจ้าอาวาสวัดอัปสรสวรรค์ เป็นบุตรนายพุ่ม ชาวเมืองปราจีนบุรี ได้มาเข้าศึกษาพระปริยัติธรรม ต่อมาพระวชิระกวี เจ้าอาวาสวัดอัปสรสวรรค์ ตั้งแต่อายุได้ 12 ปี ครั้นอายุที่จะอุปสมบทจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่วัดนั้นภายหลังพระวชิระกวีถึงแก่มรณภาพ พระหลัด (อ่อน) ได้เป็นพระครูพยากรณ์เจ้าอาวาส จึงได้เป็นพระสมุห์ อยู่วัดนั้น ต่อมาพระครูพยากรณ์ (อ่อน) ถึงแก่มรณภาพจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พระครูพุทธพยากรณ์ได้รับตาลปัตรพุดตาลพื้นเหลืองเป็นเครื่องยศ ณ วัน 7 เดือน 12 ขึ้น 14 ค่ำ อาพาธฉันอาหารไม่ค่อยได้ นอนไม่ค่อยหลับ หาหมอพอนเชลยศักดิ์รักษา ว่าเป็นวัณโรคคันทสูตร ประกอบยาให้ฉัน อาการหาคลายไม่ ฉันอาหารน้อยลงทุกเวลา ณ วัน 5 เดือน 3 ขึ้น 14 ค่ำ อาการทรุดหนักลง ให้นายเปลี่ยน หมอเชลยศักดิ์ รักษาอาการ หาคลายไม่ ณ วัน 2 เดือน 4 แรม 2 ค่ำ เวลายามเศษ หอบเป็นกำลัง เวลา 3 ยาม พระครูพุทธพยากรณ์ (มั่น) ถึงแก่มรณภาพอายุได้ 74 ปี พระราชทานน้ำชำระศพ หีบสลักลายมังกรเป็นเกียรติยศ
4. พระครูพุทธพยากรณ์ (กวย) ชาติภูมิอยู่ตำบลคุ้งเผาถ่าน อำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี เดิมเป็นพระสมุห์ ฐานะของพระครูพุทธพยากรณ์ (มั่น) ภายหลังได้รับ พระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูเจ้าอาวาส
5. พระครูพุทธพยากรณ์ (อุปติส โส เจริญ) ชาติภูมิอยู่ตำบลบางมด อำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี เดิมเป็นพระสมุห์ ฐานานุรูปของ พระครูพุทธพยากรณ์ (กวย) ต่อมาได้รับพระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์เป็นพระครูพุทธพยากรณ์ ตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดอัปสรสวรรค์ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2449 และได้ปกครองวัดตลอดมาจนมรณภาพ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2494
6. พระธีรสารมุนี (ธีรสาโร สุไชย) เปรียญ 3 ประโยค น.ธ.โท เกิดปี พ.ศ. 2461 ชาติภูมิอยู่ตำบลปากคลอง อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี อุปสมบทที่พระอารามนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2482 ต่อมา ได้รับสัญญาบัตรสมณศักดิ์ เป็นพระครูสุไชยธรรมพินิต เมื่อปี พ.ศ. 2493 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสและเจ้าคณะตำบลคลองภาษีเจริญ เมื่อปี พ.ศ. 2495 เป็นพระอุปัชฌายะ เมื่อปี พ.ศ. 2497 และได้รับสัญญาบัตรเลื่อนสมณะเป็น พระราชาคณะที่พระธีรสารมุนี เมื่อปี พ.ศ. 2502 ได้ปกครองพระอารามมาจนถึง พ.ศ. 2540
7. พระวิสุทธิมงคล (ทองเติม อุตตมญาโณม ,ปรีดาสามารถ) นักธรรมเอก (น.ธ.เอก) เปรียญธรรม 4 ประโยค เกิดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2463 ชาติภูมิอยู่บ้านวังดาล ตำบลวังดาล อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี บรรพชาเมื่อปี พ.ศ. 2479 ที่วัดสามัคคีสโมสร (บ้านวังดาล) อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2484 ที่วัดประยูรวงศาวาสวรวิหาร แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยมีพระธรรมปหังษณาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระครูชั้นเอกที่พระครูประสิทธิวรญาณ เมื่อ พ.ศ. 2501 ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดอุดมรังสี เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร ,พ.ศ. 2503 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ,พ.ศ. 2527 ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็น เจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร แขวงปากคลอง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร และเมื่อ พ.ศ. 2540 ได้รับแต่งตั้งสมณะศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญที่พระวิสุทธิมงคล และได้ปกครองวัดอัปสรสวรรค์มา ตราบจนปัจจุบันนี้
พระประธาน ๒๘ พระองค์
พระประธาน ๒๘ พระองค์ ในพระอุโบสถเป็นพระหล่อปางมารวิชัยเหมือนกันหมด มีขนาดเท่ากัน หน้าตักกว้าง ๑ ศอก สูงตลอดยอดพระรัศมี ๑ ศอก ๔ นิ้ว พระพุทธรูปเหล่านี้ประดิษฐานอยู่บนชุกชี (แท่นพระ) เดียวกัน ชุกชีนั้นสูงเป็นจอมขึ้นไป มีสัณฐานเป็นรูปสี่เหลียมรี ระหว่างด้านเหนือกับด้านใต้ ทางด้านตะวันตกซึ่งเป็นด้านหลังพระอุโบสถ เป็นด้านตัดไม่มีพระพุทธรูปประดิษฐาน ส่วนทางด้านตะวันออกซึ่งเป็นด้านหน้า เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ๑๘ พระองค์ และลดหลั่นลงมาตามลำดับ รวมทั้งที่ล้ำออกมาเป็นรูปสามเหลี่ยมในชั้นต่ำที่สุด ๓ พระองค์ ส่วนด้านเหนือและด้านใต้ ก็ลดหลั่นลงมาตามลำดับเช่นเดียวกัน เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปด้านละ ๕ พระองค์
อนึ่งพระพุทธรูปเหล่านี้ ได้มีพระนามจารึกไว้ที่หน้าฐานทั้งนั้น องค์ที่ประดิษฐานอยู่บนยอดจอม มีพระนามจารึกว่า พระตัณหังกร องค์นอกนั้น มีพระนามว่า พระเมธังกร พระสรณังกร พระทีปังกร พระโกณฑัญญะ พระมังคละ พระสุมนะ พระเรวตะ พระโสภิตะ พระอโนมทัสสี พระปทุมะ พระนารทะ พระปทุมุตตระ พระสุเมธะ พระสุชาตะ พระปิยทัสสี พระอัตถทัสสี พระธรรมทัสสี พระสิทธัตถะ พระติสสะ พระปุสสะ พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคดม และ พระโคดม นี้ประดิษฐานอยู่ล้ำหน้าที่สุดในชั้นล่างพระประธานที่อยู่ในพระอุโบสถนี้ รัชกาลที่ ๓ เป็นผู้ทรงสร้าง และเป็นพระประธานที่มีแห่งเดียวในโลก
หลวงพ่อฉันสมอ
เกี่ยวกับพระพุทธรูปปางฉันสมอองค์นี้ เล่ากันว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ทรงได้มาจากเวียงจันทร์ พร้อมกับพระบางและพระแซกคำ พระบางนั้นโปรดให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ วัดจักรวรรดิราชาวาส ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) จึงโปรดให้อัญเชิญพระบางคืนไปไว้ยังเมืองหลวงพระบาง เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๐๘
ส่วนพระแซกคำ พระราชทานแก่พระยาราชมนตรี (ภู่ ภมรมนตรี) ไปประดิษฐานเป็นพระประธาน ณ วัดคฤหบดี ตราบจนปัจจุบัน
พระพุทธรูปปางฉันสมอ หรือที่เรียกกันว่า “ หลวงพ่อสมอ ” นั้นเป็นพระพุทธรูปมีลักษณะแบบจีน เป็นพระพุทธรูปที่งดงามเป็นสง่า เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวนครหลวงพระบางและเวียงจันทร์ หน้าตักกว้างประมาณศอกเศษ ทรงนั่ง พระหัตถ์ซ้ายถือผลสมอ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่มาแต่เมืองเวียงจันทร์ ตามหมายรับสั่ง ร.๓ จ.ศ. ๑๑๘๙ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๗๐ ปรากฏว่าเมื่อปราบกบฏเจ้าอนุแล้ว ได้อัญเชิญ พระพุทธรูปสำคัญต่าง ๆ มาจากเวียงจันทร์หลายองค์ ซึ่งมีพระพุทธรูปปางฉันสมอ รวมอยู่ในจำนวนนั้นด้วย เมื่อถึงกรุงเทพฯ แล้ว ได้ทำการฉลองสมโภชเป็นมหกรรมใหญ่ และได้อัญเชิญสถิตประดิษฐานไว้ในพระวิหารพระนาก ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หลังจากบูรณปฏิสังขรณ์วัดอัปสรสวรรค์แล้ว จึงพระราชทานหลวงพ่อฉันสมอมาประดิษฐานที่วัดนี้ ตั้งแต่บัดนั้นกระทั่งถึงปัจจุบัน
ความหมาย
พระพุทธรูปปางฉันสมอนี้ เป็นปางหนึ่งเกียวกับพุทธอิริยาบถ มีเรื่องเล่าว่า หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากร่มไม้จิก (มุจจลินท์) ซึ่งบังเกิดฝนตกใหญ่ และที่พญามุจลินท์นาคราชแผ่พังพานปกป้องแล้วนั้น พระองค์เสด็จมาประทับสวยวิมตติสุขอยู่ใต้ร่มไม้เกต (ราชายตนพฤกษ์) อันอยู่ในทิทักษิณแห่งพระมหาโพธิ์ เป็นเวลาอีก ๗ วัน นับเวลาตั้งแต่วันตรัสรู้จนถึงกาลนี้ รวมได้ ๔๓ วัน ในเวลาเช้าแห่งวาระนั้น ท้าวสักกะ (พระอินทร์) ได้ถวายไม้สีพระทนต์ (ไม้สีฟัน) และผลสมอ เมื่อวันขี้น ๖ ค่ำ เดือนอาสาฬหะ พระองค์ได้ทรงใช้ไม้สีพระทนต์ และทรงเสวยผลสมอ แล้วประทับอยู่ใต้ร่มไม้เกตแห่งนั้น
อภินิหาร
เมื่อได้กล่าวถึงความเป็นมาของหลวงพ่อฉันสมอแล้ว ก็ขอแทรกถึงอภินิหารของท่านบ้างพอสมควร เพราะความจริงหลวงพ่อท่านก็ไม่ค่อยได้ปรากฏองค์ ในที่สาธารณะบ่อยนัก เรื่องนี้มีมูลเหตุ ผู้ใหญ่ท่านเล่าต่อๆ กันมาว่า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ พระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ทรงมีความโปรดปรานในเรื่องพระพุทธรูปมากเป็นพิเศษ ทรงเสาะแสวงหาพระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีความงามไปเก็บไว้เมืองหลวง และภายในพระบรมมหาราชวัง ดังที่ได้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์สำคัญฯ มาจากทางเมืองเหนือมาเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก หลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน จังหวัดอุตรดิตถ์
ครั้งหนึ่ง พระเจ้าหลวงทรงเสด็จมาประพาสที่วัดอัปสรสวรรค์นี้ พระองค์ทรงได้สนทนาธรรมกับพระครูพุทธพยากรณ์ เจ้าอาวาสในขณะนั้น และพระองค์ได้ไปพบ พระพุทธรูปฉันสมอนี้มีความงาม หาองค์ใดเสมอเหมือน จึงได้ทูลขอกับเจ้าอาวาส ว่าต้องการนำเข้าไปประดิษฐานในพระบรมมหาราชวัง เพื่อสำหรับสักการะบูชา ฝ่ายพระครูพุทธพยากรณ์ได้ฟังพระกระแสรับสั่ง ไม่กล้าขัดพระกระแสรับสั่ง แต่ก็มีความเสียดาย จึงจำเป็นต้องรับปากถวายพระราชทานไป เมื่อกลับไปถึงพระบรมมาหาราชวังพระองค์ทรงให้โหรหลวงหาฤกษ์มงคลที่จะอาราธนาพระพุทธรูปฉันสมอมาไว้ในพระบรมมหาราชวัง โหรก็จัดแจงหาเลขผานาที ได้กำหนดเวลาแน่นอนก่อนถึงกำหนดไปรับหลวงพ่อฉันสมอ เกิดเหตุอัศจรรย์ ฝนตกลงมาอย่างไม่ลืมหูลืมตา ทั้งที่ในระยะนั้นไม่ใช่ฤดูฝนแต่อย่างใด กล่าวกันว่าทั้งพระสงฆ์ และชาวบ้านต่างมีความเสียดายพากันไปกราบไหว้องค์หลวงพ่อให้ประดิษฐานอยู่ยังวัดนี้ต่อไป เพื่อเป็นมิ่งขวัญแก่ชาวบ้านในถิ่นนั้น ฝ่ายขบวนรับเสด็จที่จะเดินทางไปอาราธนาองค์หลวงพ่อฉันสมอไม่สามารถออกเดินทางมายังวัดอัปสรสวรรค์ได้ ด้วยฝนตกมารุนแรงอย่างผิดปกติ และไม่มีท่าทีว่าจะหยุดเมื่อไร ฝนได้ตกลงมาอย่างนั้นอยู่ตลอด ๓ วัน ๓ คืน จึงสงบ ซึ่งเป็นเวลาที่ผ่านพ้นฤกษ์ยามที่โหรหลวงได้กำหนดให้ พระเจ้าหลวงทรงทราบ จึงตรัสว่า “ เมื่อไม่ยอมไปพระบรมมหาราชวัง จะอยู่ที่นี่ก็ตามใจ ” และตรัสกำชับเจ้าอาวาสให้เก็บรักษาให้ดี ถ้าเป็นอะไรไปจะปรับผิดกับเจ้าอาวาส หลวงพ่อก็เลยเก็บรักษาองค์พระตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ ทางวัดและสาธุชนทั้งหลายปรารภกันว่า “ หลวงพ่อฉันสมอ ” เป็นพระพุทธรูปที่ได้พระราชทานคู่มากับวัดอัปสรสวรรค์ สมควรจะได้อัญเชิญมาให้ประชาชนได้สักการะบูชาบ้าง จึงร่วมกันนำลงมาสรงน้ำเนื่องในวันสงกรานต์ วันที่ ๑๓ เมษายน ทุก ๆ ปีมา บางปีก็ได้อัญเชิญเข้าขบวนแห่ออกนอกวัดไปตามเส้นทางบางสะแก ตลาดพลู และประตูน้ำภาษีเจริญ ซึ่งมีประชาชนทั้งไทยและจีนจำนวนมาก คอยสักการะและสรงน้ำ ด้วยความเคารพเสื่อมใสศรัทธาตลอดระยะทางที่ผ่านไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น